สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี

สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี เป็นหน่วยงานเกี่ยวกับอะไร ?

สำนักงานที่ดินเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดการเอกสารและกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ กล่าวคือสำนักงานที่ดินจะช่วยดูแลจัดการข้อมูลที่ดินทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ในที่ดินให้มีการจัดสรรการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรีเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมที่ดิน มีประวัติมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้กระทรวงเกษตราธิการ ออกโฉนดครั้งแรกที่กรุงเก่า(ปัจจุบันคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย สังกัดกระทรวงเกษตราธิการขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

หน้าที่ของสำนักงานที่ดินมีอะไรบ้าง

หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินในแต่ละจังหวัดจะคล้ายคลึงกัน นั่นคือาการให้บริการที่คุณสามารถพบได้ดังต่อไปนี้

  1. บริหารจัดการข้อมูลที่ดินและแผนที่เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ทุกภาคส่วน
  2. ให้บริการด้านที่ดินเพื่อคุ้มครองสิทธิในที่ดินของประชาชนอย่างถูกต้องและเป็นธรรม
  3. บริหารจัดการที่ดินสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
  4. ส่งเสริมและนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ

ก่อนติดต่อกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินต้องรู้อะไรบ้าง ?

สำหรับใครที่ต้องการไปติดต่อหน่วยงานราชการแต่รู้สึกว่าไปไม่ถูกที่ถูกเวลา ไม่รู้จะเตรียมตัวยังไงที่จะไปติดต่อกับหน่วยงานราชการนั้น ๆ โดยเฉพาะการติดต่อกับสำนักงานที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้ต้องเสียเวลาเป็นอย่างมาก และจะต้องทำอย่างไรให้การติดต่อธุระที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรีเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสำเร็จในเวลาอันสั้น วันนี้เรามีคำแนะนำเบื้องต้นจากสำนักงานที่ดินที่ควรรู้ เพื่อให้การติดต่อกับสำนักงานที่ดินเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนี้

  1. ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินต้องเตรียมเอกสารหลักฐาน โดยรายละเอียดเอกสารหลักฐานการติดต่อแต่ละประเภทจะอยู่ในประเภทการติดต่อ เช่นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์และการรังวัดประเภทต่าง ๆ
  2. ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเอกสารสิทธิของเรา เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ว่ามีสำนักงานที่ดินอยู่ในเขตไหน จะได้ไม่ไปผิดที่
  3. อย่าลืมเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่ต้องจ่ายตามกฎหมายก่อนไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน
  4. ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางราชการใด ๆ ที่สำนักงานที่ดิน โปรดรับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งตามจำนวนที่จ่ายจริง
  5. สำนักงานที่ดินทุกแห่งส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อไปถึงสำนักงานที่ดินแล้ว สิ่งแรกคือ ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน ตรวจสอบหลักฐานเอกสารและรับบัตรคิว
  6. การให้บริการที่สำนักงานที่ดินจะเป็นไปตามลำดับคิวที่ได้รับ ดังนั้นเราควรต้องเตรียมเอกสารและเตรียมให้พร้อมก่อนรับคิวที่สำนักงานที่ดิน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและเสียเวลา
  7. เมื่อติดต่อธุรกิจที่สำนักงานที่ดินสำเร็จแล้วขอให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของโฉนดที่ดิน เช่น ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนที่ดินในโฉนด เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่เราเตรียมไว้ว่าครบถ้วน ถูกต้อง หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง
  8. สำนักงานที่ดินจะมีการประกาศรายละเอียด ขั้นตอน และระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละประเภทไว้แล้ว หากเราไปติดต่องานที่สำนักงานที่ดินแล้วเห็นว่างานล่าช้าเกินกว่าปกติ หรือไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัย ขอให้สอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้ตามแต่กรณี
  9. หากไปที่สำนักงานที่ดินแล้วพบปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการสามารถแจ้งกรมที่ดินได้ สามารถส่งเรื่องร้องเรียนทางไปรษณียบัตรมาที่กรมที่ดิน ตู้ ปณ.11 ไปรษณีย์วัดเลียบ กรุงเทพฯ 10200 หรือโทร. 02-141-5678-80

หลักฐานที่ต้องเตรียมเพื่อทำธุระเกี่ยวกับที่ดินที่สำนักงานที่ดิน

เตรียมหลักฐานที่จะมาติดต่อทำธุระเกี่ยวกับที่ดิน โดยทั่วไปจะต้องเตรียมหลักฐาน 3 ประเภทหลัก ๆ เสมอคือ

  • หลักฐานหลักคือหลักฐานที่ขาดไม่ได้ เช่น โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และที่สำคัญที่สุดคือคู่กรณี
  • หลักฐานประกอบ เช่น ทะเบียนสมรส, ใบหย่า, คำยินยอมของคู่สมรส, หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ, หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม, หลักฐานสูติบัตร, คำสั่งศาลหรือคำพิพากษา, ข้อตกลง, ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส.ด.9, หลักฐานการเป็นทหาร อื่น ๆ หนังสือมอบอำนาจของบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือใบแทน หนังสือมอบอำนาจของบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือในกรณีของนิติบุคคล ได้แก่ เอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล หนังสือรับรองการอนุญาตอาจกระทำการแทนนิติบุคคลได้ หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แสดงสัญชาติ และจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่นายทะเบียนรับรองในปัจจุบันและบัตรประจำตัวกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล
  • เงิน เงินที่ต้องเตรียมสำคัญมาก เพราะค่าที่ดินและภาษีซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องจ่ายตามที่ทางสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรีหรือทางราชการกำหนด เงินที่ต้องเตรียมควรเตรียมดังนี้
    • เป็นค่าคำขอ 5 บาท
    • เป็นค่าพยาน 10 บาท
    • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทุน 2% หรือ 5% แล้วแต่กรณี หรือ 1% ตามประเภทการจดทะเบียน
    • ภาษีและอากรสำหรับการซื้อ แลกเปลี่ยน เนื่องจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้การหักภาษี ณ ที่จ่าย
    • เป็นค่าอากรแสตมป์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • เป็นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนประเภททุนทรัพย์แปลงละ 50 บาท
  • หากมีการมอบอำนาจจะต้องเสียค่ามอบอำนาจด้วย